เมื่อปี 2001 สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ หรือ FAA (Federal Aviation Administration) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการบินของอเมริกา ตั้งแต่วางระเบียบและมาตรฐานการบิน ไปจนถึงการควบคุมจราจรทางอากาศ
หน่วยงานแห่งนี้กำลังจะรับหัวหน้าคนใหม่เข้ามาทำงาน และแคนดิเดทคนหนึ่งที่กำลังนั่งอยู่ท่ามกลางคณะกรรมการในห้องสัมภาษณ์ตอนนี้ ดูมีความมั่นใจในตัวเองสูงมาก ตอบคำถามต่าง ๆ ด้วยความกระตือรือร้น
เขาเชื่อว่าตัวเองจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เขาไม่เพียงเป็นฝ่ายตอบคำถาม แต่มักจะตั้งคำถามกลับไปยังคณะกรรมการในขณะสัมภาษณ์ด้วย
การสัมภาษณ์ใกล้จบแล้ว และเขาตั้งคำถามเป็นการทิ้งท้ายว่า “งานที่ผมต้องรับผิดชอบนี้ ผมคือคนที่สามารถตัดสินใจเป็นคนสุดท้ายใช่หรือไม่”
คณะกรรมการตอบอย่างไม่ลังเลว่า “ใช่ และหวังว่าคุณจะกล้าใช้มันนะ”
เขาตอบรับพร้อมกล่าวขอบคุณ และคิดว่าถ้าเขาได้งานนี้ วันหนึ่งเขาคงต้องใช้มันอย่างแน่นอน
ในที่สุด FAA ก็ได้หัวหน้าสำนักงานคนใหม่ ไม่ใช่ใครที่ไหน เขาคนนี้นั่นเอง และเช้าวันแรกที่เริ่มงาน เขาก็ต้องใช้สิ่งที่เคยถามคณะกรรมการเอาไว้ในวันสัมภาษณ์ เพราะวันนั้นคือวันที่ 11 กันยายน 2001 หรือที่คนทั่วโลกเรียกมันว่า ไนน์วันวัน (9/11)
มันคือเหตุการณ์การก่อการร้ายของกลุ่มอิสลามเคร่งจารีต ที่จี้เครื่องบินโดยสาร 4 ลำ 2 ลำพุ่งชนตึกแฝดเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์ก ลำที่ 3 พุ่งชนอาคารเพนตากอน ที่ทำการของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ลำที่ 4 ตกที่รัฐเพนซิลเวเนีย ก่อนถึงเป้าหมายที่ผู้ก่อการร้ายตั้งใจจะชนอาคารรัฐสภา
FAA ไม่เคยมีกฎระเบียบและวิธีจัดการในสถานการณ์แบบนี้มาก่อน เนื่องจากเครื่องบินทุกลำที่กำลังบินอยู่ในขณะนั้น ต้องถูกสั่งให้ลงจอดโดยเร็วที่สุดในสนามบินที่ใกล้ที่สุด ซึงบนท้องฟ้าในตอนนั้นมีเครื่องบินถึง 5000 ลำ
ความโกลาหลแบบนี้ ขั้นตอนปกติไม่สามารถนำมาใช้ได้ ดังนั้นหัวหน้าคนใหม่ ต้องกล้าตัดสินใจและสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ขึ้นมา
ในขณะเดียวกันต้องทำให้ทุกคนในทีมไว้ใจและให้ความร่วมมือ เพื่อให้เครื่องบินทุกลำลงจอดอย่างปลอดภัย และในที่สุดเขาก็ทำสำเร็จ
หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น FAA พยายามวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงและสร้างกฎระเบียบขึ้นมาใหม่ แต่ทุกคนในที่ประชุมกลับลงความเห็นว่า ไม่มีประโยชน์ที่จะสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ขึ้นมา เพราะเหตุการณ์การนำเครื่อง 5,000 ลำลงจอดสำเร็จในวันนั้น
ไม่ได้อยู่ที่การมีกฎระเบียบหรือไม่ แต่อยู่ที่การเคารพและความไว้วางใจในการตัดสินใจของผู้นำ รวมถึงความสัมพันธ์ที่ดีของทุกคนในองค์กรต่างหาก
สุดท้าย แทนที่ FAA จะเสียเวลาไปปรับปรุงกฎระเบียบขึ้นมาใหม่ กลับตัดสินใจลงทุนด้านการพัฒนาทีมงานแทน
ข้อคิดที่น่าสนใจคือ หากเราจะทำงานให้สำเร็จ ไม่ว่างานนั้นจะยากแค่ไหน ถ้าทุกคนในทีมมีความไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน เชื่อมั่นในการตัดสินใจของผู้นำ งานนั้นก็จะผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ด้วยดี
จริงไหมครับ
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Add Friend Follow"ไปได้ด้วยดี" - Google News
September 25, 2020 at 10:47AM
https://ift.tt/3i3IvuJ
ฝ่าวิกฤติ 9/11 ได้ เพราะไว้ใจในผู้นำ - thebangkokinsight.com
"ไปได้ด้วยดี" - Google News
https://ift.tt/2U2qx2u
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ฝ่าวิกฤติ 9/11 ได้ เพราะไว้ใจในผู้นำ - thebangkokinsight.com"
Post a Comment