Search

ศบศ. : งัดมาตรการภาษี จูงใจชนชั้นกลางควักเงินออม-กองทุน กระตุ้นเศรษฐกิจ - ประชาชาติธุรกิจ

nawasana.blogspot.com
ภาพจาก pixabay

นายสุพัฒนพงษ์ รองนายกฯ-รมว.พลังงาน ชง ศบศ. 7 ต.ค. ออกมาตรการ Co-pay กระตุ้นเศรษฐกิจ เฟสสอง ควักเงินออมคนเสียภาษี-กำลังซื้อสูง สารพัด ทั้งชิมช้อปใช้-ช้อปช่วยชาติ บูทเศรษฐกิจอีกรอบ ปลุกเอกชนเลิกกลัว-ปรับแผนลงทุนเร็วขึ้น 3 ปี ขีดเส้น 6 เดือน ดึงนลท.ไทย-เทศลงทุนในอีอีซี  

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ ศบศ. ในวันที่ 7 ตุลาคม 2563 ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน จะมีการพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี (ต.ค.-ธ.ค. 63) เพิ่มเติมในรูปแบบ Co-pay สำหรับผู้เสียภาษีที่มีกำลังซื้อ หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบโครงการ “คนละครึ่ง” ไปก่อนหน้านี้

“มาตรการกระตุ้นรอบนี้จะเน้นไปที่คนที่เสียภาษี คนที่มีฐานะ มีกำลังซื้อสูง ควักเงินจากคนที่มีเงินออมเยอะ ๆ มาช่วยชาติกันหน่อย คล้าย ๆ ชิมช้อปใช้ หรือ ช้อปช่วยชาติ แต่จะไม่ใช่คนละครึ่ง ต้องน้อยกว่าอยู่แล้ว เป็นคนละเสี้ยว ใช้เงินจากเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท เพื่อให้ได้รอบเศรษฐกิจ อาจเป็น cash back กำลังคิดกันอยู่ เพราะรู้ว่า sensitive แต่คนมีฐานะเขามีกำลัง ถ้าอยากให้เขาเข้ามาก็ต้องมี Incentive แต่หลักการคือ Co-pay”

ทั้งนี้ ต้องเข้าใจภาพกว้างก่อน ทำไมต้อง co-pay ทุกคนต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาครั้งนี้ ทำไมไม่สาดเงิน ทำไมไม่แจก แจกเงินง่ายมากใครก็แจกได้ ถ้าเจอรัฐบาลสาดเงินอย่างเดียว แก้โควิดได้จริง แต่ง่อยเลย

นายสุพัฒนพงษ์กล่าวว่า สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเดิมที่ออกไปแล้ว เช่น โครงการเที่ยวด้วยกัน หรือ โครงการคนละครึ่งถ้าเงินยังเหลือก็จะขยายระยะเวลาออกมาไปจนกว่าเงินจะหมด หรือ ถ้ามาตรการได้ผลดีอาจจะใช้ต่อไปเรื่อย ๆ โดยดูตามสถานการณ์หน้างาน เพราะยังมีความไม่แน่นอนสูง และจะประเมินทุก 3 เดือน โดยมีแผนสองเพื่อเตรียมรับความผันผวน หากเกิดการระบาดรอบสอง

ปรับแนวทางผ่อนมาตรการ STV

นายสุพัฒนพงษ์กล่าวว่า ที่ประชุมศบศ.ในวันดังกล่าวจะมีการพิจารณาเรื่องและเรื่องท่องเที่ยว เพื่อติดตามมาตรการแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวพิเศษ Special Tourist Visa (STV) จะต้องปรับปรุงอะไรบ้าง และผลตอบรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นอย่างไร ถ้ามาตรการตึงขนาดนี้ เช่น ต้องกักตัว 14 วัน จะมีนักท่องเที่ยวมาจำนวนเท่าไหร่ ถ้าจะหย่อนมาตรการลงจะทำได้หรือไม่ หรือ ได้ขนาดไหนที่หมอรับได้และประชาชนรับได้

“ต้องหาสมดุล หนึ่ง ประเทศต้องมาก่อน ความปลอดภัยของประชาชน สอง เศรษฐกิจ ดีที่สุด ผู้บริโภคต้องหายจากความกลัว ต้องเลิกกลัวให้ได้ ถ้าเลิกกลัว ท่านจะเริ่มลงทุน เริ่มบริโภค ท่านจะสัญจร แต่เราสั่งให้เลิกกลัวไม่ได้ ต่อเมื่อมีข้อมูลทางการแพทย์ที่เชื่อถือว่า มีพัฒนาการของยารักษาและวัคซีน กรณีมีวัคซีนเกิดขึ้น เราถึงรักษาเสถียรภาพทางการเงินที่เข้มแข็งไว้ เพราะเตรียมเงินแบ็กอัพไว้ วัคซีนส่วนหนึ่ง มีทั้งแผนตั้งรับและรุก เมื่อวัคซีนมาก็ติดเทอร์โบประเทศได้”

นายสุพัฒนพงษ์กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือตลาดทุน ว่า จะมีมาตรการเพิ่มเติม เพราะกำลังหารือกันอยู่ว่า ยังมี instrument บางอันเตรียมหา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ต้องคิดแล้วว่า ในยามที่ต้องออกกองทุนบางประเภทเพื่อรองรับกรณีหนี้ที่มีปัญหา ซึ่งกองทุนยังไม่มีกฎระเบียบ ก.ล.ต.จะไปศึกษา

หวังฉากจบเศรษฐกิจฟื้นภายใน 2 ปี

นายสุพัฒพงษ์กล่าวว่า ขณะนี้ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้นติดต่อเป็นเดือนที่ 5 ตัวเลขของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดีขึ้นทุกตัว เป็นผลจากแรงผลักดันของรัฐบาลส่วนหนึ่ง 2 มิติ มิติแรก การควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 และมิติที่สอง การฟื้นฟู ต้องควบคู่กันไป แต่แน่นอนดีขึ้นกลับมาไม่เท่ากับปีที่แล้ว

“หนังยังไม่จบ ต้องดูม้วนสุดท้าย การอ้างธนาคารโลกว่าเศรษฐกิจไม่ดีอาจจะถูก เข้าอ้างเดือนตุลาคมด้วยซ้ำไป เป็นการพยากรณ์ ต้องดูใกล้ ๆ ว่าใครจะต่ำสุด ถ้าไม่ต่ำสุดก็ต้องชมรัฐบาลด้วยเหมือนกัน หรือ ถ้าต่ำไม่มากเหมือนที่คิด ไม่อยากให้เน้นเรื่องจีดีพีมาก เพราะความสำคัญ คือ ต้องเอาบ้านเมืองให้คอนโทรลเรื่องการระบาดให้รอดก่อน สอง เรื่องแรงงาน”

นายสุพัฒนพงษ์กล่าวว่า ในฐานะรองนายกฯ ฉากจบของหนังม้วนสุดท้ายอยากเห็นเศรษฐกิจไทยกลับสู่ปกติ ภายใน 2 ปี หรือ ปี 2565 หนึ่ง คุมการระบาดให้แน่น ให้อยู่ โจทย์จะยากขึ้นหน่อย เพราะเราต้องค่อย ๆ เปิดประเทศ อย่างระมัดระวัง สอง คนไทยต้องช่วยกัน การบริโภคในประเทศ การลงทุนในประเทศต้องมีความเชื่อมั่น ประชาชนทุกคนต้องเชื่อมั่นในการคุมการระบาด และต้องเชื่อมั่นว่า เรื่องนี้จะมีวันจบสิ้น เรื่องโควิดจะมีวันจบหมดภายในปลายปี 64 ต้องเชื่อมั่นระดับหนึ่ง

“ต้องคอยติดตาม มนุษยชาติไม่ยอมหรอกให้โรคโควิดนี้ค้างไว้ ให้เป็นปัญหาของโลกอีกต่อไป เพราะทุกประเทศทั่วโลกมุ่งมั่นที่จะแก้ ส่วนจะจบเมื่อไหร่ จบแบบไหน ผมว่า ต้องเชื่อว่าจบก่อน เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญ คือ ต้องช่วยกันประคับประคองในช่วงเวลานี้”

เร่งเครื่องยนต์บริโภค-ลงทุนในประเทศ

นายสุพัฒนพงษ์กล่าวว่า มาตรการเศรษฐกิจที่ออกมายังไม่พอ ยังต้องทำต่อไปเรื่อย ๆ ยกตัวอย่างเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท ประชาชนคนไทยทุกคนต้องมีส่วนร่วม เน้นการบริโภค การลงทุนภายในประเทศเป็นหลัก พึ่งพาการส่งออกระดับหนึ่ง เพราะประเทศจีนเริ่มเข้มแข็ง สหรัฐฯ เริ่มดี

“ท่องเที่ยวช้าหน่อย เพราะต้องใช้เวลา แต่อยากเห็นการท่องเที่ยวเอกชนไทยปรับตัว มี Business model ใหม่ เป็น new normal แทนนักท่องเที่ยวค่าเฉลี่ย จาก 50,000 บาทต่อหัว เป็น 300,000 บาทต่อหัว 1 ล้านบาทต่อหัว เมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงไป การแพร่ระบาดน้อยลง ขณะเดียวกันเป็นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและใช้งบประมาณน้อยลง”

นายสุพัฒนพงษ์กล่าวว่า ส่วนภาคเอกชนไทยต้องลงทุนในช่วงเวลานี้ วัสดุ สิ่งของ ต้นทุนถูกลง น้ำมันก็ถูกลง  Index ซีเมนต์ เหล็กลดลง 10 เปอร์เซ็นต์ เพราะอีก 2 ปีก็ต้องลงทุน ถ้าเชื่อว่าโควิดมีวันจบ แต่ถ้านักลงทุนไทย ผู้ประกอบการเอกชนไทยยังหมกมุ่น ว่า จะเป็นอย่างนี้ไปตลอดแล้วไม่ลงทุน ก็จะอยู่กับที่

“เมื่อคิดว่า เรื่องนี้ต้องมีวันจบ แผนงานอะไรที่คิดว่าจะทำในอนาคต อีก 3 ปี เลื่อนเร็วขึ้นมาสร้างขึ้น กู้ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ร้อยละ 4 ค่าก่อสร้างลงไปร้อยละ 10 ก็คุ้มค่า ต่อให้สร้างทิ้งไว้ก็ยังคุ้ม ซ่อมแซมอาคาร ปรับปรุง ขยาย ถ้ายิ่งใช้ของไทยได้ ทำเลย ยังไงก็ต้องทำอยู่เลยในอีก 3 ปี ก็เลื่อนมาทำเร็วขึ้น ถ้าของมันถูก”

ปลุกเอกชนลงทุนเลิกกลัว-เลิกกำเงินสด

นายสุพัฒนพงษ์เรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนแทนที่จะกำเงินสดไว้ ว่า ต้องแก้ความกลัวก่อน ต้องเดินสาย สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีสิทธิประโยชน์ให้ ต้องปลดออกจากความกลัวก่อน ถ้าเอกชนพ้นจากความกลัวจะนำไปสู่ความเชื่อมั่น จุดหนึ่งความเชื่อมั่นจะถึงเอง ซึ่งมาพร้อมกับพัฒนาการทางการแพทย์ ยารักษา วัคซีน จะถึงจุดตัดจุดหนึ่งที่คนจะตัดสินใจและจะยอมพ้นจากความกลัว เราจะก้าวพ้นจากความกลัว

“เหมือนเราอยู่ในห้องมืด วันแรกเราอยู่ในห้องมืดที่สนิทที่สุด สิ่งแรกที่เราทำ คือ อยู่เฉย ๆ เพราะเรากลัวในสิ่งที่เราไม่รู้ และเราก็กลัวว่า ห้องนี้จะมืดไปอีกแล้ว เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง เราจะเริ่มคุ้น แต่ยังเกาะกำแพงอยู่ พิงกำแพงอยู่ เพื่อให้มั่นใจว่า ข้างหลังเราไม่ใช่ที่โล่งที่เรามองไม่เห็น พอไฟค่อย ๆ เปิดขึ้นมา ช้า ๆ ลาง ๆ เราจะเริ่มรู้สึกกล้าเคลื่อนไหวมากขึ้น กล้าทำอะไรมากขึ้น กล้าตัดสินใจมากขึ้น”

นายสุพัฒนพงษ์กล่าวว่า จากตรงนี้ไปถึงจุดนั้น สิ่งที่รัฐบาลทำ จ้างงาน มาตรการ Co-pay ท่องเที่ยวดีขึ้น โครงการเที่ยวด้วยกันก็ต้องขยายออกไปจนกว่าเงินจะหมด ซึ่งเรียกว่าประคับประคองไปจนกว่าจะไปถึงจุดตัด กลางปีหน้าจะเห็นจุดตัด คือ ดัชนีเริ่มดีขึ้นต่อเนื่อง สอง คนเริ่มกล้าลงทุน สัญญาณการลงทุนมากขึ้น คนกล้าสัญจรมากขึ้น อัตราการท่องเที่ยวของคนในประเทศกลับสู่สภาพใกล้เคียงปกติด ต่างประเทศค่อย ๆ ดีขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป จุดตัดเกิด ความมั่นใจจะมาเอง

นายสุพัฒนพงษ์กล่าวว่า รัฐบาลเตรียมแผนหนึ่งและแผนสองไว้รองรับเศรษฐกิจ แผนหนึ่ง คือ 1.ควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี 2.คนไทยร่วมไม้ร่วมมือกัน 3.รัฐบาลเป็นตัวหลักในการช่วยประคับประคอง 4.การปรับโครงสร้างหนี้ไปได้ด้วยดี ถ้าไม่มีการระบาดรอบสอง แต่ถ้าระบาดรอบสองก็ต้องปรับแผน มีสองแผนตลอดเวลา

นายสุพัฒนพงษ์ให้ความมั่นใจว่า จะประสานกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสถาบันการเงิน เพื่อแก้ปัญหาหนี้ 12.8 ล้านราย วงเงินหนี้ 7 ล้านล้านบาท เนื่องจากสิ่งที่ธปท.ทำมาในอดีต อาทิ สินเชื่อ soft loan กองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (BSF) โดยเฉพาะสิ่งที่ธปท.ทำ คือ การพักชำระหนี้ เป็นการสร้างสภาพคล่องโดยตรง และทยอยปรับโครงสร้างหนี้

ดึงนักบงทุนลงอีอีซีภายใน 6 เดือน

นายสุพัฒนพงษ์กล่าวถึง พล.อ.ประยุทธ์ที่จะนำคณะลงพื้นที่ EEC ในวันนี้ (1 ต.ค.) ว่า เพื่อลงไปรับฟัง ว่า 1.มีนักลงทุนสนใจประเทศไทยจริงหรือไม่ 2.นักลงทุนต้องการอะไรที่จะตัดสินใจมาลงทุนในประเทศไทย เช่น นักลงทุนอยากมาดูสถานที่จะอำนวยความสะดวกได้อย่างไร จะป้องกันจากโรคโควิด-19 อย่างไร

นายสุพัฒนพงษ์กล่าวว่า ตนจะลงไปผลักดันอีอีซีให้ทำต่อ เพราะต้องดึงดูดคน EEC แทนที่จะนั่งดูแค่ท่าเรือมาบตาพุด ท่าเรือแหลมฉบับบัง รถไฟความเร็วสูงไม่พอ เพราะมันเกิดแล้ว ต้องไปดึงนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศมาได้แล้ว ต้องมีฐานการผลิตในประเทศไทย เพื่อแข่งขันกับประเทศอื่น ต้องเห็นภาพเหล่านี้ในอีก 6 เดือน เพื่อกระตุ้นให้ EEC และบีโอไอทำในสิ่งเหล่านี้

“เป็นการแข่งขัน ประเทศอื่นก็ทำแข่งกัน เบื้องต้นนักลงทุนอยากมาประเทศไทย EEC จะไม่ใช่เป็นตัว Drive เศรษฐกิจของประเทศเพียงอย่างเดียว ยังมีกรุงเทพฯ ด้วย มีรถไฟฟ้า 10 สาย เป็นมหานคร สามารถดึงดูดคนที่บ้านเมืองไม่สงบ เช่น คนฮ่องกง หรือ บ้านเมืองที่ยังมีความเสี่ยงเรื่องโควิด หรือ ความขัดแย้งทางการเมืองที่ฮ่องกง จะย้ายที่ทำการมาที่นี่ได้ไหม ออฟฟิศ ค่าเช่าถูกกว่าสิงค์โปรเยอะ เทคโนโลยีไม่ได้แย่กว่า บีโอไอมีสิทธิประโยชน์สำหรับมาตั้งสำนักงานที่นี่ก็มีอยู่ หรือ มาซื้อเรสซิเด้นท์ พร็อพเพอร์ตี้มาอยู่ที่นี่ ค่าแรงเวียดนามถูกกว่าไม่กี่เปอร์เซ็นต์”

คุณสมบัติรัฐมนตรีคลังคนใหม่

นายสุพัฒนพงษ์กล่าวถึงบุคคลที่จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ ว่า ภายในเดือนตุลาคมจะได้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ แต่ไม่รู้ว่าเป็นใคร รู้เพียงทำงานกับตนได้ และต้องทำงานเป็นทีมเวิร์ค และทำงานกับนักการเมืองได้  เพราะท่านนายกฯบอกว่าต้อง ใจถึง เข้มแข็ง

“รัฐมนตรีคลังคนเดียวไม่ทำให้ประเทศไทยแย่หรือดีหรอกครับ เพราะทำงานเป็นวง ไม่ใช่คนคนเดียว ต้องเข้าใจภาพแมคโคร เข้าใจภาพสัมพัทธ์ ทำไมถึงต้องทำ co-pay ทำไมถึงต้องทยอยทำแค่ 3 เดือน ไม่พูดถึงเป็นปี ๆ เพราะยังมีความไม่แน่นนอน มีวันจบแน่แต่ไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไหร่ ทำดีต้องรักษาไว้ คนไทยต้องช่วยกัน มาตรการเดินไปข้างหน้า ฟื้นฟู แต่จะให้คิดไกลกว่า 6 เดือน เทให้หมด พวกเราจะกลับไปสภาพเดิม มีความไม่แน่นอน ถ้าเกิดระบาดรอบสอง”

Let's block ads! (Why?)



"ไปได้ด้วยดี" - Google News
October 01, 2020 at 07:48AM
https://ift.tt/3cN7KRa

ศบศ. : งัดมาตรการภาษี จูงใจชนชั้นกลางควักเงินออม-กองทุน กระตุ้นเศรษฐกิจ - ประชาชาติธุรกิจ
"ไปได้ด้วยดี" - Google News
https://ift.tt/2U2qx2u


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ศบศ. : งัดมาตรการภาษี จูงใจชนชั้นกลางควักเงินออม-กองทุน กระตุ้นเศรษฐกิจ - ประชาชาติธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.