หลังจากการเข้าประจำการของซู-33 ได้มีการพัฒนาต่อยอดรุ่น 2 ที่นั่งสำหรับการฝึกนักบินขึ้นมาในรุ่น ซู-33ยูบี ที่เป็นการออกแบบห้องนักบินใหม่เป็นแบบ 2 ที่นั่งเรียงข้างกัน โดยบินครั้งแรกในปี 1999 แต่มันถูกสร้างออกมาเพียงแค่ลำเดียว ส่วนเครื่องบินซู-33 ถูกผลิตออกมาจากโรงงานผลิตเครื่องบินที่ กมโซโมลสก์-กง-อาเมอร์ (Komsomolsk-on-Amur Aircraft Production plant) ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกไกลของรัสเซีย ราว 35 ลำ แต่มีประจำการในกองทัพรัสเซียไม่ถึง 24 ลำ โดยในปี 1998 เครื่องบินซู-33 ถูกบรรจุประจำการที่ กรมบินจู่โจมอิสระประจำกองเรือที่ 279 ณ ฐานบิน Severomorsk-3 ที่เมืองเมอร์สมังส์ ทางตอนเหนือของรัสเซีย
ซู-33 แฟลงเคอร์ ดี มีความแตกต่างไปจากแฟลงเคอร์ รุ่นใช้งานบนฐานบินบก คือ มีการออกแบบช่วงล่างใหม่ให้สามารถทนต่อแรงกระแทก และความเครียดบนโครงสร้าง ตะขอเกี่ยวเพื่อหยุดเมื่อลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบิน นอกจากนี้ยังมีขอบชายปีกหน้า แฟลบ พื้นผิวควบคุมถูกขยายให้กว้างขึ้น เพื่อเพิ่มแรงยก และความคล่องตัวในการบิน นอกจากนี้ยังขยายปีกให้ใหญ่ขึ้น 10-12% นอกจากนี้เพื่อการจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ซู-33 สามารถพับปีกและแพนหางระดับ สามารถพับขึ้นได้ เครื่องยนต์ที่กำลังขับสูงกว่ารุ่นปกติ และติดตั้งท่อรับเชื้อเพลิงกลางอากาศ ซู-33 มีปีกเล็กที่เรียกว่าคาร์นาร์ดด้านหน้าปีก เพื่อลดระยะทางบินขึ้นและเพิ่มความคล่องตัว และเรโดมส่วนหางที่สั้นกว่าทุกรุ่น เพื่อป้องกันหางกระแทกพื้นเมื่อลงจอดบนเรือ
ในด้านอาวุธ ซู-33 จะบรรทุกอาวุธปล่อยอากาศ-สู่-อากาศ นำวิถีด้วยอินฟราเรด แบบ R73 หรือ เอเอ-11 อาร์เชอร์ ระยะยิง 30 กิโลเมตร ได้ 4 ลูก และอาวุธปล่อยอากาศ-สู่-อากาศ นำวิถีด้วยพาสซีฟเรดาร์ แบบ R-27P เอเอ- 10 อะลาโม-อี ที่ระยะยิงไกลสุด 72 กิโลเมตร ติดตั้งปืนใหญ่อากาศแบบ GSh-30-1 ขนาด 30 มม.พร้อมกระสุน 150 นัด สามารถติดตั้งระเบิดทิ้งจากอากาศ ระเบิดคลัสเตอร์บอมบ์ และจรวดไม่นำวิถีได้หลากหลายขนาด นอกจากนี้ยังสามารถปฏิบัติการได้ทุกกาลอากาศ เพราะมีกล้องตรวจจับอินฟราเรด หรือ IRST และเรดาร์ตรวจจับแบบ สล็อตแบ็ค ที่ตรวจจับเป้าและติดตามเป้าหมายได้หลายเป้าพร้อมๆ กัน สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับเฮลิคอปเตอร์ แจ้งเตือนภัยล่วงหน้า แบบ Ka-31 และสามารถป้องกันกองเรือจากอาวุธปล่อยต่อต้านเรือรบด้วย อาวุธปล่อยอากาศ-สู่-อากาศ นำวิถีด้วยเรดาร์แอคทีฟ แบบ R-27EM ที่มีระยะยิงไกลถึง 170 กิโลเมตร
เมื่อเทียบกับ มิก-29K คู่แข่งที่รุ่นใหม่กว่า และจะเข้ามาทดแทนแล้ว ซู-33 จะมีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด (MTOW) สูงกว่า มิก-29K อยู่ 50% ในเรื่องความจุเชื้อเพลิง ซู-33 จุมากกว่าสองเท่าของ มิก-29K ทำให้บินได้ไกลขึ้น 80% ที่ระดับความสูง (หรือ 33% ที่ระดับน้ำทะเล)
อย่างไรก็ตาม MiG-29K สามารถบินได้นานพอๆ กับ Su-33 เมื่อใช้ถังเชื้อเพลิงภายนอก แต่ก็จะบรรทุกอาวุธลดลง ซู-33 สามารถบินด้วยความเร็วต่ำสุดที่ 240 กม. / ชม. (150 ไมล์ต่อชั่วโมง) ขณะที่ มิก-29K จำเป็นต้องรักษาความเร็วขั้นต่ำไว้ที่ 250 กม. / ชม. (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) เพื่อการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ ไม่มีอาการร่วงหล่น (Stall) อย่างไรก็ตามข้อได้เปรียบของ มิก-29K คือ สามารถบรรทุกอาวุธ อากาศ-สู่-พื้นได้หลากหลายมากกว่าซู-33 และประเด็นสำคัญ ซู-33 มีราคาแพงกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า มิก-29K โดยนี่เป็นการจำกัดข้อได้เปรียบทำให้มิก-29K บรรจุในจำนวนที่มากกว่า ซู-33 เมื่ออยู่บนเรือบรรทุกเครื่องบิน
แผนการดำเนินการอัปเกรดซู-33 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเริ่มตั้งแต่ปี 2010 เนื่องจากในขณะนั้นมีความเป็นไปได้ที่รัสเซียอาจจะได้ขายเครื่องบิน ซู-33 ให้กับจีน เพื่อใช้ร่วมกับเรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวนิง รวมถึงโอกาสที่รัสเซียจะจัดหาเพิ่ม โดยเริ่มจากการอัปเกรดเครื่องยนต์ใหม่เป็นรุ่น AL-31-F-M1 ระบบไอพ่นปรับทิศทาง รวมทั้งระบบเรดาร์แบบ เฟส อาร์เรย์รุ่นใหม่ และขีดความสามารถมารองรับอาวุธนำวิถีทำลายเรือแบบ Kh-31 ระบบชี้เป้า SVP-24 เพื่อเพิ่มความสามารถในการโจมตีภาคพื้นดิน ด้วยระเบิดและจรวดไม่นำวิถี ทำให้ความสามารถของซู-33 ใกล้เคียงกับ ซู-30SM ที่มีใช้ในกองทัพอากาศรัสเซีย
แต่ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2009 อนาคตของซู-33 เหมือนจะมืดมนเมื่อกองทัพเรือรัสเซียสั่งซื้อเครื่องบิน มิก-29 เค รุ่นใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ในคู่แข่งของมันเมื่อสมัยเริ่มต้น มาเข้าประจำการทดแทน ซู-33 ที่ยังเหลือ 19 ลำ โดยจะเข้าประจำการทั้งหมดในปี 2015 อย่างไรก็ตาม ซู-33 ยังพอมีโอกาสรับใช้ในกองทัพรัสเซียต่อ เมื่อ ผบ.กองบินนาวีรัสเซีย พลเรือตรี อิกอร์ โคซิน ต้องการฝูงบินอีกฝูงทำให้ ซู-33 ได้รับการยกเครื่องใหม่ และปรับปรุงติดตั้งระบบชี้เป้า SVP-24 ในปี 2016 เพื่อนำไปใช้ในสงครามซีเรียโดยได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีทางอากาศ เพื่อทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายของกลุ่มไอซิสในซีเรีย และเมื่อจบภารกิจในซีเรียก็กลับไปประจำการยังฐานบิน Severomorsk-3 ในปี 2017
ความพยายามในการแจ้งเกิดอีกรอบ คือ การที่ซูฮอย พยายามนำเสนอ ซู-33 เพื่อเป็นเครื่องบินขับไล่ประจำบนเรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวนิงของจีน ด้วยรุ่นพิเศษ ซู-33เค ที่เป็นการนำระบบอิโอนิกส์ เรดาร์ตรวจจับ และคอมพิวเตอร์อำนวยการรบของ ซู-35 รุ่นล่าสุดบรรจุในโครงสร้างของซู-33 รุ่นเก่า แต่สุดท้าย จีน เลือกใช้แนวทางการพัฒนาด้วยตัวเอง โดยไปตามหาเครื่องบิน ที-10เค (T-10K) ที่เป็นต้นแบบของซู-33 จากประเทศยูเครน ก่อนเอากลับมาศึกษาและทำวิศวกรรมย้อนกลับ แล้วผลิตขึ้นเองภายใต้ชื่อ เสิ่นหยาง J-15 Flying Shark
หลังจากพลาดลูกค้าใหญ่อย่างจีน ซูฮอยจึงเสนอ ซู-33 ให้กับทางกองทัพเรืออินเดีย เพื่อนำไปใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ เรือ INS Vikramaditya ที่เป็นเรือปรับปรุงจากเรือบรรทุกเครื่องบินเก่ารัสเซีย ชั้นเคียฟ ชื่อ แอดมิดรัล กอร์ชอฟ ที่ดัดแปลงติดตั้งสกีจัมป์ไว้รองรับเครื่องบินรัสเซีย และอินเดียเลือก มิก-29เค ด้วยเหตุผล คือ ซู-33 ระบบเอวิโอนิกส์ต่างๆ ล้าสมัยแล้ว และขนาดของซู-33 ไม่เหมาะที่จะบินขึ้นลงบนเรือ Vikramaditya ที่มีขนาดพื้นที่เล็กกว่าเรือของรัสเซีย ทำให้เครื่องบิน มิก-29เค ที่มีขนาดเล็กกว่ามีความเหมาะสม
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าตลาดต่างประเทศของซู-33 แทบจะปิดตาย ไม่มีใครอยากได้ไปใช้งานด้วยข้อจำกัดที่กล่าวมา เว้นแต่กองทัพเรือรัสเซียจะอยากได้ แล้วเอาไปใช้กับเรือบรรทุกเครื่องบินของตัวเอง ซึ่งอาจจะต้องเปิดสายการผลิตใหม่ ก็น่าเป็นกังวลในเรื่องต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบต่างๆ อีก นั่นก็อาจทำให้ ตำนานของ ซู-33 แฟลงเคอร์-ดี ที่มีกว่า 33 ปีต้องรูดม่านปิดฉากไปตามสังขารที่ร่วงโรย และเปิดทางให้เครื่องบินรุ่นใหม่ๆ ที่ทันสมัยกว่าเข้ามาทดแทนนั่นเอง.
เขียนโดย : จุลดิส รัตนคำแปง
ที่มา : russodaily
"ไปได้ด้วยดี" - Google News
August 22, 2020 at 08:06AM
https://ift.tt/3aLfFNG
33 ปีของ ซู-33 หนึ่งในยอดเครื่องบินขับไล่รัสเซีย ของดีที่ไม่ได้ไปต่อ - ไทยรัฐ
"ไปได้ด้วยดี" - Google News
https://ift.tt/2U2qx2u
Bagikan Berita Ini
0 Response to "33 ปีของ ซู-33 หนึ่งในยอดเครื่องบินขับไล่รัสเซีย ของดีที่ไม่ได้ไปต่อ - ไทยรัฐ"
Post a Comment