Search

'3 สตรีลอรีอัล' ผู้อยู่เบื้องหลัง 'นวัตกรรมป้องกันโควิด-19' - กรุงเทพธุรกิจ

nawasana.blogspot.com

16 มิถุนายน 2563 | โดย ชญานิษฐ์ นกแก้ว

1

นักวิจัยสายวิทย์ฯจากมหิดล-สวทช.ก้าวรับรางวัล ทุนวิจัย “สตรีลอรีอัล” ปี 63 ด้วยผลงานการติดตามศึกษาเชิงลึกไวรัสโคโรนา 2019 อีกทั้งผลงานการพัฒนาแผ่นกรองหน้ากากอนามัย 2 ฟังก์ชั่นป้องกันโควิด-ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 และแอพติดตามกลุ่มเสี่ยง DDC-Care

3 สตรีนักวิทย์ทุนลอรีอัล

อินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ลอรีอัลเชื่อมั่นมาตลอดว่า โลกต้องการวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ต้องการผู้หญิงเพื่อร่วมเป็นแนวหน้าสร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อมวลมนุษยชาติ โดยเฉพาะท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เป็นความหวังสำคัญในการคิดค้นวิธียับยั้งและรักษา จึงหวังว่าทุนพิเศษเพื่องานวิจัยโควิด-19 จากโครงการลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” จะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่สนับสนุนผลงานที่มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ด้วยดี

159223295045

ทั้งนี้นักวิจัยสตรี 3 คนที่ได้รับทุนพิเศษเพื่องานวิจัยโควิด-19 จากโครงการทุนวิจัยประกอบด้วย  โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการวินิจฉัย วิธีการรักษาโรค วัคซีน ของโรคโควิด-19 และการติดตามการเปลี่ยนแปลง ลักษณะทางพันธุกรรมที่เกิดจากเชื้อไวรัส SAR-CoV-2” ที่ถูกรับเลือกให้เป็นผลงานโดดเด่นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภายใต้การดำเนินงานของ รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี  ธิติธัญญานนท์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยรศ.พญ.อรุณี กล่าวถึงรายละเอียดของงานวิจัยว่า ตั้งแต่เริ่มเกิดการระบาดของโรคโควิด-19  ได้ร่วมทำงานกับนักวิจัย โดยสามารถเพาะแยกเชื้อจากผู้ป่วยโควิด-19 และเลี้ยงเชื้อได้ตั้งแต่ระยะแรกของการระบาดในประเทศไทย และมีส่วนในโครงการวิจัยโรคดังกล่าวหลากหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็น การนำศักยภาพของห้องปฏิบัติการชีวะนิรภัยระดับ 3 (BSL-3) มาเพาะเชื้อในห้องแล็บ ซึ่งเราสามารถเพิ่มจำนวน และศึกษาในส่วนต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยว่าไวรัสอยู่ในอากาศมีชีวิตได้นานเท่าไร รวมทั้งเรื่องของไวรัสทำให้เกิดอาการของโรครุนแรงอย่างไร และเมื่อเราแยกเชื้อได้ทำให้เราเริ่มต้นวิจัยพัฒนาชุด RT-LAMP ในระยะแรก

รวมถึงให้คำปรึกษาในกระบวนการบ่มเพาะเทคโนโลยีกับบริษัทสตาร์ทอัพเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดตรวจทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานและผ่านการรับรองโดยหน่วยงานของรัฐ ซึ่งปัจจุบันสามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นชุดคิทที่มีการนำไปใช้ในแล้วในโรงพยาบาลรามาธิบดี และกรมวิทยาศาสตร์บริการ อีกทั้งตอนนี้อยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียนอย. เพื่อต่อยอดสู่การจำหน่ายในเชิงพาณิชย์”

159223296488

รศ.พญ.อรุณี กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาแพลตฟอร์มการคัดกรองยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019  โดยใช้เทคนิคอิมมูโนฟลูออเรสเซนต์ เทสสารสกัดสมุนไพรกว่า 120 ชนิด ซึ่งพบว่ามีเพียงสารสกัดจากสมุนไพร 5 ชนิด อาทิ ขิง ฟ้าทะลายโจร กระชายขาว ซึ่งสารสกัดจากกระชายขาวมีสารสำคัญ 2 ชนิด ที่มีศักยภาพในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ SARS-CoV-2 ได้เกือบ 100% ทั้งยังมีส่วนร่วมในการศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมของไวรัสชนิดนี้ที่อาจมีผลต่อภูมิต้านทานของวัคซีน และส่งผลต่อยา รวมถึงดูความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงทางรหัสพันธุกรรมกับความรุนแรงของโรค 

ลอรีอัลมอบทุนพิเศษ 3 นักวิจัยสตรีไทยสู้โควิด-19 ได้แก่ อาจารย์แพทย์ผู้วิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการวินิจฉัย วิธีการรักษาโรค วัคซีนของโรคโควิด-19 และการติดตามการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมและระบาดวิทยาจากไวรัสดังกล่าว และ 2 นักวิจัย สวทช.ผู้พัฒนาหน้ากากที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ กับนักวิจัยผู้พัฒนาระบบติดตามผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อ DDC-Care

ไฟฟ้าสถิตที่ดักจับจุลินทรีย์

นฤภร มนต์มธุรพจน์ นักวิจัยจากศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หนึ่งในผู้ได้รับทุนวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์ กับงานวิจัย “การเตรียมและทดสอบคุณสมบัติของวัสดุคอมพอสิทของไฮดรอกซีอะพาไทต์และไททาเนียมไดออกไซด์ สำหรับใช้เป็นแผ่นกรองจุลินทรีย์” ที่ริเริ่มตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ปัญหาฝุ่นละอองพีเอ็ม 2.5 กระทั่งโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน

1592232979100

“ด้วยความรู้ความสามารถทางวัสดุศาสตร์ จึงให้ความสนใจพัฒนาวัสดุคอมโพสิทของไฮดรอกซีอะพาไทต์และไททาเนียมไดออกไซด์ โดยไฮดรอกซีอะพาไทต์เป็นวัสดุทดแทนกระดูก มีโครงสร้างใกล้เคียงกับกระดูกของคนคือแคลเซียมและฟอสฟอรัส ทั้งยังมีคุณสมบัติในการเป็นอิเล็กโตรสแตติก หรือไฟฟ้าสถิตที่ดักจับจุลินทรีย์ได้” นฤภร กล่าว

คุณสมบัติเพียงแค่ดักจับตัวฝุ่น ไวรัสหรือแบคทีเรียอาจจะไม่เพียงพอ จึงมองหาวัสดุเสริมอีกชนิดหนึ่งคือ ไทเทเนียมไดออกไซด์ ที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางแสงจะถูกกระตุ้นภายใต้รังสียูวี ทำหน้าที่ย่อยสลายไวรัส แบคทีเรีย ฝุ่น ให้อยู่ในรูปของอนุมูลอิสระ หลังจากที่ได้ไอเดียนี้แล้วก็ได้ทำการร่วมทดสอบประสิทธิภาพกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

“ขั้นตอนถัดไปคือ เคลือบสารนี้บนผ้านอนวูฟเวน โดยใช้ความรู้ของนักวิจัยด้านสิ่งทอเข้ามาช่วย เพื่อเป็นชั้นกรองของหน้ากากอนามัย พร้อมกับตัดเย็บเป็นรูปทรงสาม มิติที่มี 4 ชั้น แล้วส่งไปทดสอบที่สิงคโปร์และสหรัฐ ยืนยันว่า สามารถกรองพีเอ็ม 2.5 และไวรัสได้ 99%”

หน้ากากอนามัยที่พัฒนาขึ้นภายใต้ชื่อ “Safie Plus” ได้ผลิตเพื่อทดสอบตลาดแล้วกว่า 2 หมื่นชิ้น ต่อมาหน้ากากอนามัยถูกกำหนดให้เป็นสินค้าควบคุม จึงไม่สามารถทำการผลิต กระทั่งมีการผ่อนกฎเกณฑ์จึงได้รับการอนุญาตให้ดำเนินการผลิตได้อีกครั้งโดยบริษัท เมด-คอน (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อส่งต่อให้บุคลากรทางการแพทย์ล็อตแรกประมาณ 4 แสนชิ้น อีกทั้งอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัท เวลเกท เอ ดี     เทค จำกัด ที่กำลังจัดตั้งโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย 4 ชั้น โดยจะรับถ่ายทอดนวัตกรรมในการใช้วัสดุคอมโพสิท คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน ก.ค นี้

นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการร่วมวิจัยกับ บริษัท อีพีจี อินโนเวชัน เซ็นเตอร์ จำกัด เพื่อผลิตเป็นแผ่นกรองหน้ากากอนามัยทดแทน N95 ที่กำลังขาดแคลน เบื้องต้นทั้งหมดจะมุ่งรองรับบุคลากรทางการแพทย์เป็นลำดับแรก ส่วนการถ่ายทอดนวัตกรรมจะเป็นไปในรูปแบบของการอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรแบบไม่ผูกขาด

“ในอนาคตเราจะขยายการผลิตสารเคลือบจากแล็บสเกลเป็นไพรอทสเกล เพื่อผลิตและส่งต่อให้กับโรงงาน ส่วนที่ทำออกมาในรูปแบบหน้ากากอนามัย ไม่ได้อยู่ในรูปแบบ N95 เนื่องจากไม่มีโรงงานผลิต N95 ในประเทศไทย แต่ถึงแม้จะมีก็จะเป็นในลักษณะของโรงงานผลิตและส่งออกกลับไปยังต่างประเทศเท่านั้น”

ด้าน อนันต์ลดา   โชติมงคล  ผู้ได้รับทุนวิจัยสาขาเทคโนโลยี  กล่าวถึงงานวิจัยว่า ระบบ DDC-Care หรือ Department of Disease Control Care ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสาธารณสุข เฝ้าระวังและติดตามตำแหน่งที่อยู่ของผู้มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่2019 และต้องกักตัวอยู่บ้านเป็นเวลา 14 วัน 

159223302728

“โดยแอปพลิเคชัน DDC-Care สามารถดึงพิกัดผู้ใช้งานแบบอัตโนมัติผ่านระบบจีพีเอส และแจ้งเตือนให้เจ้าหน้าที่ทราบเมื่อมีการออกนอกพื้นที่กักตัวที่ปักหมุดไว้เกินกว่าระยะที่กำหนด พร้อมรายงานสรุปสถานการณ์ ที่มีการทำแสดงผลข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ โดยเจ้าหน้าที่สามารถดูข้อมูลกลุ่มเสี่ยงได้แบบเรียลไทม์”

ระบบที่พัฒนาสามารถรองรับการใช้งานได้มากกว่า 1 แสนคน และผ่านการทดสอบความปลอดภัยจากสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ทั้งนี้ได้นำร่องใช้งานจริงกับสถาบันบำราศนราดูรเป็นหน่วยงานแรก และปัจจุบันมีโรงพยาบาลและศูนย์สุขภาพที่ใช้งานระบบ DDC-Care แล้ว จำนวน 51 แห่ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและอำเภอ จำนวน 18 แห่ง และคาดว่าจะขยายการใช้งานออกไปได้ทั่วประเทศ

159223309588

Let's block ads! (Why?)



"ไปได้ด้วยดี" - Google News
June 16, 2020 at 12:02PM
https://ift.tt/30OlXcm

'3 สตรีลอรีอัล' ผู้อยู่เบื้องหลัง 'นวัตกรรมป้องกันโควิด-19' - กรุงเทพธุรกิจ
"ไปได้ด้วยดี" - Google News
https://ift.tt/2U2qx2u


Bagikan Berita Ini

0 Response to "'3 สตรีลอรีอัล' ผู้อยู่เบื้องหลัง 'นวัตกรรมป้องกันโควิด-19' - กรุงเทพธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.